วันเสาร์ที่ 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552

ลดน้ำหนักด้วย "เส้นบุก"

รู้จัก "เส้นบุก" อาหารพลังงานต่ำ ลดน้ำหนัก
ภาษาอังกฤษ เรียก คอนยัก (Konjac) เป็นต้นไม้ประเภท Amorphohpallus ลำต้นนำมาทำแกงส้ม หรือลวกจิ้มน้ำพริก เอาหัวบุกมาฝานเป็นแว่น ปิ้งหรือย่างไฟเป็นขนมบุก ซึ่งจะมีรสหวาน ในประเทศไทยมีบุกไข่ (A.muelleri Blume) และบุกคางคก (Apacolifilus Nicolson) ส่วน Konjac เป็นบุกลูกพระอาทิตย์ หรือ White spot arum.
บุก เป็นพืชพื้นเมืองของไทยมักขึ้นในที่ชื้น ลำต้นมีลายขาว ๆ มีหนามเล็ก ๆ มียางซึ่งหากถูกแล้วจะคัน หัวบุกมีขนาดใหญ่ เนื้อมีสีขาวอมเหลือง ละเอียดเป็นเมือกลื่น เรากินบุกกันทั้งใบและหัว หัวบุกมีแป้งประมาณร้อยละ 67 มีโปรตีนร้อยละ 5-6 สารแป้งที่อยู่ในหัวบุกเรียกว่า แมนแนน (mannan) เมื่อสารนี้ถูกทำให้แตกตัว จะได้กลูโคสกับแมนโนส หรือที่เรียกกันว่า กลูโคแมนแนน (glucomannan) ซึ่งมีคุณสมบัติเป็นเส้นใยอาหาร (Dietary Fibre) ที่ละลายน้ำได้
ประโยชน์ของบุก
ในประเทศไทยได้นำมารับประทานในชีวิตประจำวันมาตั้งแต่สมัยโบราณ โดยนำยอดอ่อนมาจิ้มน้ำพริกและ ส่วนหัวมาประกอบอาหารคาว หวาน ต่างๆ และในญี่ปุ่นเองก็มีการนำหัวบุก (คอนยัคคุ) ไปแปรรูปเป็นแบบต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นแบบผง , ก้อน , เส้น และนำมารับประทานอาหารประจำวัน เช่น โอเด้ง ,สุกี้ยากี้ ฯลฯ มาเป็นเวลากว่าหนึ่งพันปีแล้ว (มีหลักฐานปรากฏตั้งแต่สมัยเอโดะ) โดยหัวบุกจะเจริญเติบโตได้ดีในแถบเอเชียเขตร้อนและอบอุ่น เช่น จีน ญี่ปุ่น ฯลฯ คนไทยนำหัวบุกมาทำอาหารหลายอย่างทั้งของคาว และของหวาน แต่ต้องต้มในน้ำเดือดเสียก่อน เพื่อไม่ให้เป็นเมือก ก้านของใบอ่อนที่ยังไม่คลี่ เมื่อลอกเอาเยื่อออกแล้วใช้ต้มจิ้มน้ำพริก หรือนำมาแกงได้ เส้นชิราตากิที่ใส่ในสุกี้ยากี้ญี่ปุ่นก็ทำมาจากแป้งหัวบุก แต่ญี่ปุ่นเรียกแป้งนี้ว่า คอนนิยักกุ (konnyaku)
สารกลูโคแมนแนนที่ได้จากหัวบุก จะมีเส้นใยอาหารประเภทละลายน้ำได้สูง มีพลังงานต่ำ ช่วยในการลดไขมันและควบคุมน้ำหนักตัว อีกทั้งยังช่วยระบบขับถ่าย ทำให้ ไม่เกิดอาการ ท้องผูก ป้องกันการเกิดเชื้อมะเร็งในลำไส้ใหญ่ และด้วยคุณสมบัติของ สารกลูโคแมนแนน ที่ ช่วยดูดซับและเปลี่ยนถ่ายสิ่งแปลกปลอมที่อาจเป็นพิษ, ลดการดูดซึมของน้ำตาลกลูโคสในระบบทางเดินอาหารบางส่วน และโคเรสเตอรอลออกจากร่างกาย จึงช่วยลดโอกาสของการเป็นโรคเบาหวาน , เส้นเลือดหัวใจ ตีบตัน ฯลฯ ได้ด้วยค่ะ

แหล่งที่มา http://www.pumpuishop.com